8/21/2554

ภาพยนตร์เรื่อง I Robot พิฆาติแผนจักรกลเขมือบโลก



ภาพยนตร์เรื่อง I Robot พิฆาติแผนจักรกลเขมือบโลก



              ภาพยนตร์เรื่อง ไอโรบอท พิฆาตแผนจักรกลเขมือบโลก เป็นภาพยนตร์แนวไซไฟ เขียนโดย เจฟ วินทาร์ เป็นเรื่องราวของบริษัท
USR ที่ผลิตหุ่นยนต์ NS5 ขึ้นมาเพื่อขาย บริหารโดย  ดร. อัลเฟรด เลนนิ่ง โดยสร้างหุ่นยนต์ภายใต้กฎ 3ข้อ ที่ว่าหุ่นยนต์ต้องไม่ทำร้ายมนุษย์ละเว้นการกระทำที่จะทำให้มนุษย์ตกอยู่ในอันตราย ต้องเชื่อฟังคำสั่งมนุษย์เว้นแต่คำสั่งนั้นจะขัดกับข้อแรก และหุ่นยนต์ปกป้องตนเองได้ตราบเท่าที่การปกป้องตนเองไม่ขัดแย้งกับกฎข้อที่ 1และข้อ2 มีวัตถุประสงค์ในการสร้างหุ่นยนต์ขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือมนุษย์ โดยหุ่นยนต์ 1 ตัวต่อมนุษย์ 5 คน
วิคกี้เป็นผลงานประดิษฐ์ชิ้นแรกที่ ดร.อัลเฟรดสร้างขึ้น เธอออกแบบระบบปฏิบัติการต่างๆภายในบริษัท และบริษัทนี้มีการสร้างหุ่นยนต์อีกจำนวนมาก แต่ซอนนี่เป็นหุ่นยนต์ตัวเดียวที่ถูกสร้างแบบเสมือนจริง คือ มีอารมณ์ ความรู้สึก และกิริยาต่างๆเหมือนกับมนุษย์ โดยเป็นหุ่นยนต์ที่ถูกสร้างขึ้นมาฝ่าฝืนกฎ 3ข้อที่กำหนดไว้ แต่ซูซานได้ทำลายล้างสมอง หลังจากที่ดร.อัลเฟรดตาย นักสืบสปูนเนอร์ได้รับสัญญาณโพโลกราฟิคที่เลนนิ่งได้ตั้งโปรแกรมบันทึกไว้ล่วงหน้าเพื่อให้มาสืบเกี่ยวกับการตายของตน โดยเขาสงสัยว่าซอนนี่เป็นหุ่นยนต์ที่ฆ่าเลนนิ่ง เขาเรียกตัวซอนนี่ไปสอบสวนเกี่ยวกับการตายของเลนนิ่ง และเหตุการณ์นี้ซอนนี่ได้แสดงอารมณ์โกรธออกมา ทำให้เขายิ่งคิดว่าซอนนี่เป็นผู้อยู่เบื้องหลังการตายของเลนนิ่ง
วิคกี้ปฏิวัติระบบเนื่องจากเห็นว่ามนุษย์มีความตะกระชอบทำสงครามทำลายโลก จึงอัพลิ่งโปรแกรมซ้อนให้กับหุ่นยนต์ NS5เพื่อปกป้องมนุษยชาติ คือผู้ถูกสร้างจะต้องปกป้องผู้สร้าง แสดงให้เห็นว่าหุ่นยนต์ต้องการที่จะควบคุมพฤติกรรมมนุษย์ ยิ่งทำให้สปูนเนอร์เกิดอัคติกับหุ่นยนต์มากยิ่งขึ้น และหุ่นยนต์ต้องการที่จะฆ่าสปูนเนอร์เพราะคิดว่าเขาจะเป็นผู้ทำลายล้างระบบ แต่ในที่สุดสปูนเนอร์ก็ได้ทำลายล้างระบบของวิคกี้ได้สำเร็จ ทำให้เขารู้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นกับเลนนิ่งเป็นเพราะอัลเฟรดต้องการให้ตนมาพบกับซอนนี่ เพื่อลดอัคติที่มีต่อหุ่นยนต์จึงสั่งให้ซอนนี่ฆ่าตน


วิเคราะห์วิจารณ์

              ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นภาพยนตร์ไซไฟ เกี่ยวกับบริษัทที่มีการผลิตหุ่นยนต์เพื่อจำหน่ายโดยมีเป้าหมายหุ่นยนต์
1ตัวต่อมนุษย์ 5คน เปรียบเสมือนเป็นองค์การเสมือนจริงที่มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศไปประยุกต์ใช้ในการจัดระบบเครือข่ายเชื่อมโยง เช่น มีการสร้างระบบข้อมูลที่เชื่อมต่อกับศูนย์กลางการปฏิบัติการทางอิเล็กทรอนิก มีการเชื่อมโยงระบบปฏิบัติการแบบคำสั่งในทุกสถานที่ และมีการใช้เครื่องมือสื่อสารโพโล กราฟิคในการติดต่อสื่อสาร ดังจะเห็นได้จากเหตุการณ์ ที่นักสืบสปูนเนอร์ได้รับสัญญาณโพโลกราฟิคที่เลนนิ่งได้ตั้งโปรแกรมบันทึกไว้ล่วงหน้าเพื่อให้เขาเข้ามาสืบเกี่ยวกับการตายของตน เป็นต้น โดยการสร้างเครือข่ายแบบเสมือนจริงดังที่บริษัทนี้ทำจะเป็นการเชื่อมโยงกับคน ทรัพย์สิน และความคิดต่าง ๆ เพื่อสร้างและกระจายสินค้าแก่ประชาชน
       และการผลิตหุ่นยนต์เป็นการพัฒนาแนวความคิดทางปัญญาแบบปัญญาประดิษฐิ์ ที่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ในการสั่งการให้หุ่นยนต์มีพฤติกรรมเหมือนมนุษย์ดังที่ซอนนี่สามารถมีอารมณ์ความรู้สึกและการตัดสินใจเหมือนมนุษย์ได้

จุดเด่น        
               เป็นภาพยนตร์ที่สื่อถึงการทำงานของหุ่นยนต์ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของมนุษย์ โดยเฉพาะซอนนี่ที่สามารถเลียนแบบพฤติกรรมมนุษย์มีอารมณ์ความรู้สึกเหมือนกับมนุษย์ ใช้การติดต่อสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกทั้งเรื่อง

จุดด้อย

               เป็นเรื่องที่ไม่ค่อยดึงดูดใจผู้ชมเท่าที่ควร เพราะเนื้อหาส่วนใหญ่เกี่ยวกับการสู้รบของหุ่นยนต์ สีสันไม่สะดุดตา



5 ความคิดเห็น:

somsa กล่าวว่า...

ตื่นเต้นตลอดเวลา .

junjira กล่าวว่า...

เป็นเรื่องที่ดูแล้ว สามารถให้ความรู้เพิ่มมากขึ้น

naratip กล่าวว่า...

ถ้ามองเรื่องหุ่นยนต์..ก็ดูเป็นสิ่งที่ทำนสมัยดูก้าวหน้าแต่จะนำมาแทนมนุษย์ไมได้หรอก ถึงจะพยายามให้คล้ายคนมากเท่าไหร่ก็ตาม ก็ไม่แปลกหรอกที่จะมีอคติต่อหุ่นยนต์

wanida กล่าวว่า...

สมองมนุษย์นิ สุดยอดจริงๆๆ ทำไรก้อได้ ขอแค่มีความมุ่งมั่น

KKzzz กล่าวว่า...

ยุคสมัยเปลี่ยนไป ก็มีการสร้างหุ่นยนต์มาใช้งานแทนคนได้

แสดงความคิดเห็น