7/09/2554

อมตะ



              นวนิยายเรื่อง  "อมตะ" ของ วิมล ไทนนิ่มนวล เป็นนวนิยายเชิงจินตานาการแนววิทยาศาสตร์ ที่ผู้เขียนใช้ความขัดแย้งระหว่าง ความเจริญด้านวิทยาศาสตร์ ที่ไม่สามารถเกี่ยวก้อยไปกันได้กับศีลธรรมอันดีงามมาเป็นแก่นแกน เอาความฝันชนะกฎแห่งสังขาร เป็นตัวเดินเรื่อง โดยอาศัยตัวละครแต่ละตัวที่มีความรัก ความผูกพัน และความแค้น ให้ทะยานไปสู่จุดจบอันอาจเหนือจริง โดยเริ่มจากความต้องการเป็นอมตะของตัวละครชื่อว่า "พรหมินทร์" ด้วยการโคลนนิ่งมนุษย์เทียมขึ้นมาเพื่อใช้สำหรับเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ "ชีวัน" ผู้ที่พรหมินทร์ได้เลี้ยงดูเป็นลูกมาตั้งแต่เล็ก แต่ชีวันไม่รู้ตัวมาก่อนเลยว่าตนเองไม่ใช่ลูกของพรหมินทร์ และไม่ใช่มนุษย์แท้ เมื่อเขารู้ความจริงจึงเจ็บปวดรวดร้าวใจยิ่งนัก ถึงกับหนีเตลิดออกจากบ้านไปหาคนรัก เพื่อหลบพัก และไตร่ตรองจนตัดสินใจได้จึงกลับบ้าน ระหว่างนี้เอง ตัวละครที่ชื่อ "อรชุน" ก็ถูกเปิดตัวออกมาในฐานะนักจิตบำบัดหนุ่มที่มีความสามารถสูง ขณะนั้นอรชุนกำลังติดพันอยู่กับ "รติรัตน์" ลูกสาวของพรหมินทร์ เป็นการแก้แค้น ด้วยเหตุที่ว่า แท้จริงแล้วอรชุนก็เป็นมนุษย์โคลนนิ่งที่ถูกสร้างขึ้นเช่นเดียวกับชีวัน อรชุนได้พบกับ "ศศิประภา" ซึ่งเป็นภรรยาของพรหมินทร์ และพบกับชีวันเพื่อบำบัดจิตให้กับคนทั้งสอง เมื่อทั้งสามคนมาพบกันความจริงเรื่องมนุษย์โคลนนิ่งก็ถูกเปิดเผย เมื่อพรหมินทร์สมหวังในเรื่องการผ่านกฎหมายรับรองการโคลนนิ่งมนุษย์และเปลี่ยนถ่ายอวัยวะเพื่อการค้า ทุกสิ่งทุกอย่างดำเนินไปอย่างถูกต้องและพรหมมินทร์ก็ได้เริ่มทำการเปลี่ยนถ่ายอวัยวะของตนเองจากอวัยวะของชีวัน อรชุนก็เข้ามามีบทบาทโดยเสนอตัวเองแลกเปลี่ยนกับชีวัน การเปลี่ยนอวัยวะคืนให้กับชีวันที่ทำไปพร้อมกับการเปลี่ยนถ่ายสมองของพรหมินทร์มาใส่ในร่างกายของอรชุนสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีทิ้งปมปัญหาให้คิดใคร่ครวญว่า จิตใจของพรหมินทร์ที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนถ่ายสมองแล้วนั้นเป็นของใครกันแน่ ระหว่างพรหมมินทร์กับอรชุน
              จุดเด่น ของนวนิยายเรื่องอมตะ คือ การที่ผู้เขียนสามารถนำประเด็นที่คาดการณ์ว่าจะเป็นปัญหาความขัดแย้งในอนาคต มาผูกเรื่องและสร้างตัวละครที่เป็นตัวแทนของความคิดความเชื่อ 2 แนว ได้อย่างเป็นรูปธรรม อีกทั้งนวนิยายเรื่องนี้นับได้ว่าเป็นนวนิยายที่มีข้อคิด คุณธรรมสอดแทรกไว้ในเนื้อหาทำให้ผู้อ่านได้ติดตามตลอดเวลา และที่สำคัญเนื้อหาทั้งหมดยังมีข้อความที่สรุปได้ดีที่สุดที่ว่า “ สัญชาตญาณอำมหิต วิทยาศาสตร์ และสัจวิถี ” แห่งศาสนา
             จุดด้อย ของนวนิยายเรื่องอมตะ คือ “อรชุน” ตัวละครในเรื่อง “อมตะ” ว่า แม้มีเป้าหมาย ทางอุดมคติที่ดี คือต้องการช่วยเหลือคนโคลน แต่วิธีการที่เขาเลือกใช้กลับมีแนวโน้มไปสู่ปัญหาที่รุนแรงมากขึ้น ซึ่งขัดกับหลักการทางศาสนาที่เขาพร่ำสอนอยู่ตลอดทั้งเรื่อง อีกทั้งนักเขียนมีเจตนาให้นวนิยายเรื่องนี้นำเสนอประเด็นความขัดแย้งระหว่างศาสนากับวิทยาศาสตร์ คือฝ่ายหนึ่งต้องการเป็นอมตะทางกายภาพ แต่อีกฝ่ายหนึ่งแย้งว่าความเป็นอมตะที่แท้จริงเป็นภาวะทางจิตใจ หรือที่เรียกว่า “นิพพาน” แต่ในส่วนของโครงเรื่องนั้น กลับไม่ได้แสดงความขัดแย้งที่เด่นชัดในปัญหานี้ แต่มีความเข้มข้นตรงเงื่อนปมภายในตัวตนของมนุษย์มากกว่า สำหรับประเด็นทางศาสนาและวิทยาศาสตร์ที่ว่านั้น จะปรากฏอยู่ในบทสนทนาเสียเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็เป็นการสนทนาของตัวละครที่มีด้านมืดของจิตใจครอบคลุมอยู่ เพราะฉะนั้นหลักการที่ตัวละครยกขึ้นมาอ้างจึงดูไม่น่าเชื่อถือ

อ้างอิง : วิมล ไทรนิ่มนวล. อมตะ. กรุงเทพฯ : สามัญชน , 2550

13 ความคิดเห็น:

สานฝัน กล่าวว่า...

เป็นความคิด ที่เป็น อมตะ จริงๆๆ เพราะพยายามว่าบอกว่า คนเรานั้น จะอมตะ ทางด้านนิพพาน ตามแนวทางพระพุทะศาสนาหรือ หรืออมตะทางด้านกายภาพ ที่พยายามผูกกับวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นเรื่องที่มองภาพในอนาคต

poohza กล่าวว่า...

อยากมีรักที่อมตะ

somsa กล่าวว่า...

อืม...ความเป็นอมตะไมได้ดีเสมอไป..บางคร้งก็กลายเป็นดาบทำร้ายเรา

wannapa.nujum@gmail.com กล่าวว่า...

อ่านแล้วได้ความรู้ เพิ่มขึ้นเยอะเลย

nujum กล่าวว่า...

เหมือนอยู่ในโลกแห่งจินตนาการเลย

jubajub กล่าวว่า...

อ่านแล้วทำให้ได้ข้อคิดค่ะ

katty กล่าวว่า...

อยากเป็นคนวิเศษ ทำไรก็ได้ ที่ทำให้ตัวเองมีความสุข อิอิ

jinny กล่าวว่า...

อ่านแล้ว รู้สึกว่าทำได้ไง เหลือเชื่อจริงๆ

heart กล่าวว่า...

ได้ความรู้เพิ่มขึ้น

sirinun กล่าวว่า...

ทุกอย่างมีความเป็นอมตะในตัวของมันเอง ขึ้นอยู่กับเราว่าจะทำลายมันให้ดับสูญหรือเสริมสร้างให้มันเจริญยิ่งขึ้น

senasee กล่าวว่า...

วิยาศาสตร์กับศาสนา เป็นเรื่องระหว่างการพิสูจน์และทดลองเพื่อหาความจริง กับ ความจริงอยู่ที่การกระทำ ความคิด ไม่พิสูจน์ก็รู้ได้

junjira กล่าวว่า...

อ่านแล้วได้แง่คิด...ความรู้เพิ่มขึ้นดี

naratip กล่าวว่า...

อมตะ....ฟังดูแล้วคลาสสิคมากแต่ถ้าคนอยู่เป้นอมตะของไม่ดีเพระคงจะเกิดการชิงดีชิงเด่นมากว่านี้ ขนาดอยุ่กันไม่ถึงร้อยปี ยังขนาดนี้

แสดงความคิดเห็น