8/21/2554

ภาพยนตร์เรื่อง I Robot พิฆาติแผนจักรกลเขมือบโลก



ภาพยนตร์เรื่อง I Robot พิฆาติแผนจักรกลเขมือบโลก



              ภาพยนตร์เรื่อง ไอโรบอท พิฆาตแผนจักรกลเขมือบโลก เป็นภาพยนตร์แนวไซไฟ เขียนโดย เจฟ วินทาร์ เป็นเรื่องราวของบริษัท
USR ที่ผลิตหุ่นยนต์ NS5 ขึ้นมาเพื่อขาย บริหารโดย  ดร. อัลเฟรด เลนนิ่ง โดยสร้างหุ่นยนต์ภายใต้กฎ 3ข้อ ที่ว่าหุ่นยนต์ต้องไม่ทำร้ายมนุษย์ละเว้นการกระทำที่จะทำให้มนุษย์ตกอยู่ในอันตราย ต้องเชื่อฟังคำสั่งมนุษย์เว้นแต่คำสั่งนั้นจะขัดกับข้อแรก และหุ่นยนต์ปกป้องตนเองได้ตราบเท่าที่การปกป้องตนเองไม่ขัดแย้งกับกฎข้อที่ 1และข้อ2 มีวัตถุประสงค์ในการสร้างหุ่นยนต์ขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือมนุษย์ โดยหุ่นยนต์ 1 ตัวต่อมนุษย์ 5 คน
วิคกี้เป็นผลงานประดิษฐ์ชิ้นแรกที่ ดร.อัลเฟรดสร้างขึ้น เธอออกแบบระบบปฏิบัติการต่างๆภายในบริษัท และบริษัทนี้มีการสร้างหุ่นยนต์อีกจำนวนมาก แต่ซอนนี่เป็นหุ่นยนต์ตัวเดียวที่ถูกสร้างแบบเสมือนจริง คือ มีอารมณ์ ความรู้สึก และกิริยาต่างๆเหมือนกับมนุษย์ โดยเป็นหุ่นยนต์ที่ถูกสร้างขึ้นมาฝ่าฝืนกฎ 3ข้อที่กำหนดไว้ แต่ซูซานได้ทำลายล้างสมอง หลังจากที่ดร.อัลเฟรดตาย นักสืบสปูนเนอร์ได้รับสัญญาณโพโลกราฟิคที่เลนนิ่งได้ตั้งโปรแกรมบันทึกไว้ล่วงหน้าเพื่อให้มาสืบเกี่ยวกับการตายของตน โดยเขาสงสัยว่าซอนนี่เป็นหุ่นยนต์ที่ฆ่าเลนนิ่ง เขาเรียกตัวซอนนี่ไปสอบสวนเกี่ยวกับการตายของเลนนิ่ง และเหตุการณ์นี้ซอนนี่ได้แสดงอารมณ์โกรธออกมา ทำให้เขายิ่งคิดว่าซอนนี่เป็นผู้อยู่เบื้องหลังการตายของเลนนิ่ง
วิคกี้ปฏิวัติระบบเนื่องจากเห็นว่ามนุษย์มีความตะกระชอบทำสงครามทำลายโลก จึงอัพลิ่งโปรแกรมซ้อนให้กับหุ่นยนต์ NS5เพื่อปกป้องมนุษยชาติ คือผู้ถูกสร้างจะต้องปกป้องผู้สร้าง แสดงให้เห็นว่าหุ่นยนต์ต้องการที่จะควบคุมพฤติกรรมมนุษย์ ยิ่งทำให้สปูนเนอร์เกิดอัคติกับหุ่นยนต์มากยิ่งขึ้น และหุ่นยนต์ต้องการที่จะฆ่าสปูนเนอร์เพราะคิดว่าเขาจะเป็นผู้ทำลายล้างระบบ แต่ในที่สุดสปูนเนอร์ก็ได้ทำลายล้างระบบของวิคกี้ได้สำเร็จ ทำให้เขารู้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นกับเลนนิ่งเป็นเพราะอัลเฟรดต้องการให้ตนมาพบกับซอนนี่ เพื่อลดอัคติที่มีต่อหุ่นยนต์จึงสั่งให้ซอนนี่ฆ่าตน


วิเคราะห์วิจารณ์

              ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นภาพยนตร์ไซไฟ เกี่ยวกับบริษัทที่มีการผลิตหุ่นยนต์เพื่อจำหน่ายโดยมีเป้าหมายหุ่นยนต์
1ตัวต่อมนุษย์ 5คน เปรียบเสมือนเป็นองค์การเสมือนจริงที่มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศไปประยุกต์ใช้ในการจัดระบบเครือข่ายเชื่อมโยง เช่น มีการสร้างระบบข้อมูลที่เชื่อมต่อกับศูนย์กลางการปฏิบัติการทางอิเล็กทรอนิก มีการเชื่อมโยงระบบปฏิบัติการแบบคำสั่งในทุกสถานที่ และมีการใช้เครื่องมือสื่อสารโพโล กราฟิคในการติดต่อสื่อสาร ดังจะเห็นได้จากเหตุการณ์ ที่นักสืบสปูนเนอร์ได้รับสัญญาณโพโลกราฟิคที่เลนนิ่งได้ตั้งโปรแกรมบันทึกไว้ล่วงหน้าเพื่อให้เขาเข้ามาสืบเกี่ยวกับการตายของตน เป็นต้น โดยการสร้างเครือข่ายแบบเสมือนจริงดังที่บริษัทนี้ทำจะเป็นการเชื่อมโยงกับคน ทรัพย์สิน และความคิดต่าง ๆ เพื่อสร้างและกระจายสินค้าแก่ประชาชน
       และการผลิตหุ่นยนต์เป็นการพัฒนาแนวความคิดทางปัญญาแบบปัญญาประดิษฐิ์ ที่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ในการสั่งการให้หุ่นยนต์มีพฤติกรรมเหมือนมนุษย์ดังที่ซอนนี่สามารถมีอารมณ์ความรู้สึกและการตัดสินใจเหมือนมนุษย์ได้

จุดเด่น        
               เป็นภาพยนตร์ที่สื่อถึงการทำงานของหุ่นยนต์ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของมนุษย์ โดยเฉพาะซอนนี่ที่สามารถเลียนแบบพฤติกรรมมนุษย์มีอารมณ์ความรู้สึกเหมือนกับมนุษย์ ใช้การติดต่อสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกทั้งเรื่อง

จุดด้อย

               เป็นเรื่องที่ไม่ค่อยดึงดูดใจผู้ชมเท่าที่ควร เพราะเนื้อหาส่วนใหญ่เกี่ยวกับการสู้รบของหุ่นยนต์ สีสันไม่สะดุดตา



ภาพยนตร์เรื่อง The king of fighter : ศึกรวมพลังคนเหนือมนุษย์


The king of fighter : ศึกรวมพลังคนเหนือมนุษย์

 
          เป็นภาพยนตร์ที่มีการเชื่อมต่อกันระหว่างโลกปัจจุบันกับอีกมิติหนึ่งของโลก หรือโลกคู่ขนาน ที่มีการสร้างสนามการแข่งขันระหว่างนักสู้เพื่อต้องการกำจัดคู่แข่ง ด้วยการเรียกตัวผ่านเครือข่ายไปสู้ที่โลกเหนือมิติที่สามารถคุมเกมส์กติกาทุกอย่างในเกมส์การแข่งขัน เพื่อต้องการเป็นที่หนึ่งแห่งยอดนักสู้

ข้อดี
          ทำให้มีพื้นที่ ที่สามรถสร้างสถานที่จำลองด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งถ้าเป็นโลกแห่งความจริงก็สามารถที่จะทำให้ประหยัดพื้นที่ในการสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นบ้าน สถานที่ทำงาน เวลา และการเดินทาง โดยใช้การสร้างโลกอีกโลกหนึ่งขึ้นมาผ่านการติดต่อของระบบสื่อสารออนไลน์ หนังเรื่องนี้มีความเกี่ยวโยงกับเนื้อหาที่เรียน ในเรื่องของโลกจำลองเสมือนจริง ที่สร้างขึ้นมาเพื่อใช้ในการต่อสู้แล้วพยายามจะเชื่อมโลกต่างมิติกับโลกปัจจุบันให้เชื่อมกันได้แล้วก็จะทำให้มีพลังอำนาจมากที่สุดในโลก


ข้อเสีย
          ทำให้เกิดโลกแห่งการแข่งขันมากขึ้น จากที่มีระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ทันสมัย  ที่สามารถจะฆ่าใครและกระทำการใดๆก็ได้โดยที่ไม่ต้องเกรงกลัวถึงอำนาจของกฎหมาย เนื่องจากอำนาจของกฎหายนั้นยังไม่ครอบคลุมถึงการสูญหายของคนในโลกต่างมิติได้ เพราะเป็นการฆ่าบนโลกอีกใบหนึ่ง ซึ่งในความเป็นจริงแล้วเป็นเรื่องที่ยากต่อการเข้าใจ และความเชื่อของคนส่วนใหญ่ว่าโลกอีกมิติหนึ่งนั้นมีอยู่จริง และสามารถข้ามผ่านการเชื่อมต่อทางระบบคอมพิวเตอร์


ข้อเสนอแนะ
          ภาพยนตร์เรื่องนี้มีความซับซ้อน ยากต่อการทำความเข้าใจเพราะไม่แสดงถึงที่มาของสาเหตุแห่งการช่วงชิงอำนาจอย่างชัดเจนว่าต้นเรื่องนั้นมีความเป็นมาอย่างไร แต่พยายามแสดงออกมาให้เห็นถึงมิติของโลกอีกโลกหนึ่งแทน  จึงจำเป็นต้องดูหลายรอบ  จะได้เข้าใจในเนื้อเรื่องมากขึ้น

ภาพยนตร์เรื่อง ฝ่าวิกฤติระทึกโลกพระจันทร์

ภาพยนตร์เรื่อง ฝ่าวิกฤติระทึกโลกพระจันทร์ 
                                                
            เป็นภาพยนตร์แนววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นเรื่องราวของนักบินอวกาศ ชื่อ แซม กับหุ่นยนตร์ที่ถูกสร้างขึ้นมาให้มีลักษณะคล้ายมนุษย์ ชื่อ เกรท  ทั้งสองมีหน้าที่สำรวจพื้นที่ดวงจันทร์ เพื่อหาสารส่งไปยังโลกมนุษย์ แล้วแปรสภาพเป็นพลังงาน แซมใช้ชีวิตอยู่บนดวงจันทร์เป็นเวลาสามปี ซึ่งช่วงเวลานั้นแซมสามารถติดต่อสื่อสารกับครอบครัวได้โดยผ่านคอมพิวเตอร์ลับ แต่เมื่อแซมจะเดินทางกลับไปยังโลกมนุษย์ เขาถูกเกรทจับขังไว้ในห้องพยาบาล เพราะเกรทต้องทำตามคำสั่งขององค์กรลูน่า ที่ไม่ต้องการให้แซมเดินทางกลับโลกมนุษย์ตามสัญญา เนื่องจากกลัวสูญเสียผลประโยชน์จากการที่แซมเป็นผู้ส่งสาร และเกรทก็ต้องทำการปลุกมนุษย์โคลนนิ่งแซมขึ้นมา เพื่อมาทำหน้าที่และกิจวัตรต่างๆแทนแซม จนวันหนึ่งแซม(โคลนนิ่ง)ประสบอุบัติเหตุขณะสำรวจพื้นที่ เกรทจึงจำเป็นต้องปล่อยแซมตัวจริงขึ้นมา เพราะเข้าใจว่าแซมโคลนนิ่งตายแล้ว แซมตัวจริงถูกปล่อยออกมาในสภาพคนไข้ที่เพิ่งฟื้นในห้องพยาบาล เมื่อแซมมีสภาพร่างกายหายดีเป็นปกติแล้ว เขาจึงออกสำรวจพื้นที่ตามปกติ จนเขาได้พบกับแซมโคลนนิ่งที่หมดสติอยู่ในซากรถ เขาทั้งสองต่างก็สงสัยในตัวตนของตนเองว่าพวกเขามีสถานะเป็นมนุษย์หรือตัวโคลนกันแน่ เป็นช่วงเวลาเดียวกันกับที่ ลูน่า ได้ส่งทีมเอ็นไลซ่า มาช่วยเหลือการทำงานของแซม แซมทั้งสองจึงต้องร่วมมือกันค้นหาห้องคนโคลนจนพบ เพื่อที่จะปลุกโคลนตัวอื่นมาทำหน้าที่แทนทั้งสองเพราะทั้งสองต้องการที่จะหนีกลับไปยังโลกมนุษย์ แต่ท้ายที่สุดแซมโคลนก็เสียสละให้แซมตัวจริงกลับไปอยู่กับครอบครัวที่โลกมนุษย์
จุดเด่นของภาพยนตร์เรื่องนี้          
           
           ภาพยนตร์เรื่องนี้้เป็นการสื่อให้เราเห็นว่า เทคโนโลยีสารสนเทศมีความจำเป็นและสำคัญกับการดำรงชีวิตของมนุษย์มากเพียงใด เช่น แซมอยู่ที่ดวงจันทร์สามารถติดต่อสื่อสารกับครอบครัวที่โลกมนุษย์ได้โดยผ่านคอมพิวเตอร์ลับ การใช้วิทยุสื่อสารระหว่างแซมตัวจริงกับแซมโคลน และการใช้คอมพิวเตอร์มาควบคุมระบบการทำงานของยานอวกาศ อีกทั้งยังเป็นการถ่ายทอดให้เราได้ทราบถึงโลกปัจจุบันว่ามีการพัฒนาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปจนถึงขั้นไหนแล้ว เช่น การประดิษฐ์หุ่นยนต์เกรท ที่มีลักษณะความสามารถที่คล้ายกับมนุษย์ตลอดจนสามารถสื่อสารพูดคุยกับมนุษย์ได้ เปรียบเสมือนแซมมีเพื่อนร่วมงานเป็นมนุษย์จริงๆ
                              
จุดด้อยของภาพยนตร์เรื่องนี้  
        
         การดำเนินเรื่องของภาพยนตร์เรื่องนี้มีความสลับซับซ้อน ซึ่งอาจทำให้ผู้ชมไม่เข้าใจในเนื้อหาได้เท่าที่ควร เช่น สับสนว่าฉากที่กำลังดูหรือฉากก่อนหน้านั้นเป็นแซมตัวจริงหรือแซมโคลน