• Replace This Text With Your Featured Post 1 Description.
  • Replace This Text With Your Featured Post 2 Description.
  • Replace This Text With Your Featured Post 3 Description.
  • Replace This Text With Your Featured Post 4 Description.

8/21/2554

ภาพยนตร์เรื่อง I Robot พิฆาติแผนจักรกลเขมือบโลก



ภาพยนตร์เรื่อง I Robot พิฆาติแผนจักรกลเขมือบโลก



              ภาพยนตร์เรื่อง ไอโรบอท พิฆาตแผนจักรกลเขมือบโลก เป็นภาพยนตร์แนวไซไฟ เขียนโดย เจฟ วินทาร์ เป็นเรื่องราวของบริษัท
USR ที่ผลิตหุ่นยนต์ NS5 ขึ้นมาเพื่อขาย บริหารโดย  ดร. อัลเฟรด เลนนิ่ง โดยสร้างหุ่นยนต์ภายใต้กฎ 3ข้อ ที่ว่าหุ่นยนต์ต้องไม่ทำร้ายมนุษย์ละเว้นการกระทำที่จะทำให้มนุษย์ตกอยู่ในอันตราย ต้องเชื่อฟังคำสั่งมนุษย์เว้นแต่คำสั่งนั้นจะขัดกับข้อแรก และหุ่นยนต์ปกป้องตนเองได้ตราบเท่าที่การปกป้องตนเองไม่ขัดแย้งกับกฎข้อที่ 1และข้อ2 มีวัตถุประสงค์ในการสร้างหุ่นยนต์ขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือมนุษย์ โดยหุ่นยนต์ 1 ตัวต่อมนุษย์ 5 คน
วิคกี้เป็นผลงานประดิษฐ์ชิ้นแรกที่ ดร.อัลเฟรดสร้างขึ้น เธอออกแบบระบบปฏิบัติการต่างๆภายในบริษัท และบริษัทนี้มีการสร้างหุ่นยนต์อีกจำนวนมาก แต่ซอนนี่เป็นหุ่นยนต์ตัวเดียวที่ถูกสร้างแบบเสมือนจริง คือ มีอารมณ์ ความรู้สึก และกิริยาต่างๆเหมือนกับมนุษย์ โดยเป็นหุ่นยนต์ที่ถูกสร้างขึ้นมาฝ่าฝืนกฎ 3ข้อที่กำหนดไว้ แต่ซูซานได้ทำลายล้างสมอง หลังจากที่ดร.อัลเฟรดตาย นักสืบสปูนเนอร์ได้รับสัญญาณโพโลกราฟิคที่เลนนิ่งได้ตั้งโปรแกรมบันทึกไว้ล่วงหน้าเพื่อให้มาสืบเกี่ยวกับการตายของตน โดยเขาสงสัยว่าซอนนี่เป็นหุ่นยนต์ที่ฆ่าเลนนิ่ง เขาเรียกตัวซอนนี่ไปสอบสวนเกี่ยวกับการตายของเลนนิ่ง และเหตุการณ์นี้ซอนนี่ได้แสดงอารมณ์โกรธออกมา ทำให้เขายิ่งคิดว่าซอนนี่เป็นผู้อยู่เบื้องหลังการตายของเลนนิ่ง
วิคกี้ปฏิวัติระบบเนื่องจากเห็นว่ามนุษย์มีความตะกระชอบทำสงครามทำลายโลก จึงอัพลิ่งโปรแกรมซ้อนให้กับหุ่นยนต์ NS5เพื่อปกป้องมนุษยชาติ คือผู้ถูกสร้างจะต้องปกป้องผู้สร้าง แสดงให้เห็นว่าหุ่นยนต์ต้องการที่จะควบคุมพฤติกรรมมนุษย์ ยิ่งทำให้สปูนเนอร์เกิดอัคติกับหุ่นยนต์มากยิ่งขึ้น และหุ่นยนต์ต้องการที่จะฆ่าสปูนเนอร์เพราะคิดว่าเขาจะเป็นผู้ทำลายล้างระบบ แต่ในที่สุดสปูนเนอร์ก็ได้ทำลายล้างระบบของวิคกี้ได้สำเร็จ ทำให้เขารู้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นกับเลนนิ่งเป็นเพราะอัลเฟรดต้องการให้ตนมาพบกับซอนนี่ เพื่อลดอัคติที่มีต่อหุ่นยนต์จึงสั่งให้ซอนนี่ฆ่าตน


วิเคราะห์วิจารณ์

              ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นภาพยนตร์ไซไฟ เกี่ยวกับบริษัทที่มีการผลิตหุ่นยนต์เพื่อจำหน่ายโดยมีเป้าหมายหุ่นยนต์
1ตัวต่อมนุษย์ 5คน เปรียบเสมือนเป็นองค์การเสมือนจริงที่มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศไปประยุกต์ใช้ในการจัดระบบเครือข่ายเชื่อมโยง เช่น มีการสร้างระบบข้อมูลที่เชื่อมต่อกับศูนย์กลางการปฏิบัติการทางอิเล็กทรอนิก มีการเชื่อมโยงระบบปฏิบัติการแบบคำสั่งในทุกสถานที่ และมีการใช้เครื่องมือสื่อสารโพโล กราฟิคในการติดต่อสื่อสาร ดังจะเห็นได้จากเหตุการณ์ ที่นักสืบสปูนเนอร์ได้รับสัญญาณโพโลกราฟิคที่เลนนิ่งได้ตั้งโปรแกรมบันทึกไว้ล่วงหน้าเพื่อให้เขาเข้ามาสืบเกี่ยวกับการตายของตน เป็นต้น โดยการสร้างเครือข่ายแบบเสมือนจริงดังที่บริษัทนี้ทำจะเป็นการเชื่อมโยงกับคน ทรัพย์สิน และความคิดต่าง ๆ เพื่อสร้างและกระจายสินค้าแก่ประชาชน
       และการผลิตหุ่นยนต์เป็นการพัฒนาแนวความคิดทางปัญญาแบบปัญญาประดิษฐิ์ ที่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ในการสั่งการให้หุ่นยนต์มีพฤติกรรมเหมือนมนุษย์ดังที่ซอนนี่สามารถมีอารมณ์ความรู้สึกและการตัดสินใจเหมือนมนุษย์ได้

จุดเด่น        
               เป็นภาพยนตร์ที่สื่อถึงการทำงานของหุ่นยนต์ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของมนุษย์ โดยเฉพาะซอนนี่ที่สามารถเลียนแบบพฤติกรรมมนุษย์มีอารมณ์ความรู้สึกเหมือนกับมนุษย์ ใช้การติดต่อสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกทั้งเรื่อง

จุดด้อย

               เป็นเรื่องที่ไม่ค่อยดึงดูดใจผู้ชมเท่าที่ควร เพราะเนื้อหาส่วนใหญ่เกี่ยวกับการสู้รบของหุ่นยนต์ สีสันไม่สะดุดตา



ภาพยนตร์เรื่อง The king of fighter : ศึกรวมพลังคนเหนือมนุษย์


The king of fighter : ศึกรวมพลังคนเหนือมนุษย์

 
          เป็นภาพยนตร์ที่มีการเชื่อมต่อกันระหว่างโลกปัจจุบันกับอีกมิติหนึ่งของโลก หรือโลกคู่ขนาน ที่มีการสร้างสนามการแข่งขันระหว่างนักสู้เพื่อต้องการกำจัดคู่แข่ง ด้วยการเรียกตัวผ่านเครือข่ายไปสู้ที่โลกเหนือมิติที่สามารถคุมเกมส์กติกาทุกอย่างในเกมส์การแข่งขัน เพื่อต้องการเป็นที่หนึ่งแห่งยอดนักสู้

ข้อดี
          ทำให้มีพื้นที่ ที่สามรถสร้างสถานที่จำลองด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งถ้าเป็นโลกแห่งความจริงก็สามารถที่จะทำให้ประหยัดพื้นที่ในการสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นบ้าน สถานที่ทำงาน เวลา และการเดินทาง โดยใช้การสร้างโลกอีกโลกหนึ่งขึ้นมาผ่านการติดต่อของระบบสื่อสารออนไลน์ หนังเรื่องนี้มีความเกี่ยวโยงกับเนื้อหาที่เรียน ในเรื่องของโลกจำลองเสมือนจริง ที่สร้างขึ้นมาเพื่อใช้ในการต่อสู้แล้วพยายามจะเชื่อมโลกต่างมิติกับโลกปัจจุบันให้เชื่อมกันได้แล้วก็จะทำให้มีพลังอำนาจมากที่สุดในโลก


ข้อเสีย
          ทำให้เกิดโลกแห่งการแข่งขันมากขึ้น จากที่มีระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ทันสมัย  ที่สามารถจะฆ่าใครและกระทำการใดๆก็ได้โดยที่ไม่ต้องเกรงกลัวถึงอำนาจของกฎหมาย เนื่องจากอำนาจของกฎหายนั้นยังไม่ครอบคลุมถึงการสูญหายของคนในโลกต่างมิติได้ เพราะเป็นการฆ่าบนโลกอีกใบหนึ่ง ซึ่งในความเป็นจริงแล้วเป็นเรื่องที่ยากต่อการเข้าใจ และความเชื่อของคนส่วนใหญ่ว่าโลกอีกมิติหนึ่งนั้นมีอยู่จริง และสามารถข้ามผ่านการเชื่อมต่อทางระบบคอมพิวเตอร์


ข้อเสนอแนะ
          ภาพยนตร์เรื่องนี้มีความซับซ้อน ยากต่อการทำความเข้าใจเพราะไม่แสดงถึงที่มาของสาเหตุแห่งการช่วงชิงอำนาจอย่างชัดเจนว่าต้นเรื่องนั้นมีความเป็นมาอย่างไร แต่พยายามแสดงออกมาให้เห็นถึงมิติของโลกอีกโลกหนึ่งแทน  จึงจำเป็นต้องดูหลายรอบ  จะได้เข้าใจในเนื้อเรื่องมากขึ้น

ภาพยนตร์เรื่อง ฝ่าวิกฤติระทึกโลกพระจันทร์

ภาพยนตร์เรื่อง ฝ่าวิกฤติระทึกโลกพระจันทร์ 
                                                
            เป็นภาพยนตร์แนววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นเรื่องราวของนักบินอวกาศ ชื่อ แซม กับหุ่นยนตร์ที่ถูกสร้างขึ้นมาให้มีลักษณะคล้ายมนุษย์ ชื่อ เกรท  ทั้งสองมีหน้าที่สำรวจพื้นที่ดวงจันทร์ เพื่อหาสารส่งไปยังโลกมนุษย์ แล้วแปรสภาพเป็นพลังงาน แซมใช้ชีวิตอยู่บนดวงจันทร์เป็นเวลาสามปี ซึ่งช่วงเวลานั้นแซมสามารถติดต่อสื่อสารกับครอบครัวได้โดยผ่านคอมพิวเตอร์ลับ แต่เมื่อแซมจะเดินทางกลับไปยังโลกมนุษย์ เขาถูกเกรทจับขังไว้ในห้องพยาบาล เพราะเกรทต้องทำตามคำสั่งขององค์กรลูน่า ที่ไม่ต้องการให้แซมเดินทางกลับโลกมนุษย์ตามสัญญา เนื่องจากกลัวสูญเสียผลประโยชน์จากการที่แซมเป็นผู้ส่งสาร และเกรทก็ต้องทำการปลุกมนุษย์โคลนนิ่งแซมขึ้นมา เพื่อมาทำหน้าที่และกิจวัตรต่างๆแทนแซม จนวันหนึ่งแซม(โคลนนิ่ง)ประสบอุบัติเหตุขณะสำรวจพื้นที่ เกรทจึงจำเป็นต้องปล่อยแซมตัวจริงขึ้นมา เพราะเข้าใจว่าแซมโคลนนิ่งตายแล้ว แซมตัวจริงถูกปล่อยออกมาในสภาพคนไข้ที่เพิ่งฟื้นในห้องพยาบาล เมื่อแซมมีสภาพร่างกายหายดีเป็นปกติแล้ว เขาจึงออกสำรวจพื้นที่ตามปกติ จนเขาได้พบกับแซมโคลนนิ่งที่หมดสติอยู่ในซากรถ เขาทั้งสองต่างก็สงสัยในตัวตนของตนเองว่าพวกเขามีสถานะเป็นมนุษย์หรือตัวโคลนกันแน่ เป็นช่วงเวลาเดียวกันกับที่ ลูน่า ได้ส่งทีมเอ็นไลซ่า มาช่วยเหลือการทำงานของแซม แซมทั้งสองจึงต้องร่วมมือกันค้นหาห้องคนโคลนจนพบ เพื่อที่จะปลุกโคลนตัวอื่นมาทำหน้าที่แทนทั้งสองเพราะทั้งสองต้องการที่จะหนีกลับไปยังโลกมนุษย์ แต่ท้ายที่สุดแซมโคลนก็เสียสละให้แซมตัวจริงกลับไปอยู่กับครอบครัวที่โลกมนุษย์
จุดเด่นของภาพยนตร์เรื่องนี้          
           
           ภาพยนตร์เรื่องนี้้เป็นการสื่อให้เราเห็นว่า เทคโนโลยีสารสนเทศมีความจำเป็นและสำคัญกับการดำรงชีวิตของมนุษย์มากเพียงใด เช่น แซมอยู่ที่ดวงจันทร์สามารถติดต่อสื่อสารกับครอบครัวที่โลกมนุษย์ได้โดยผ่านคอมพิวเตอร์ลับ การใช้วิทยุสื่อสารระหว่างแซมตัวจริงกับแซมโคลน และการใช้คอมพิวเตอร์มาควบคุมระบบการทำงานของยานอวกาศ อีกทั้งยังเป็นการถ่ายทอดให้เราได้ทราบถึงโลกปัจจุบันว่ามีการพัฒนาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปจนถึงขั้นไหนแล้ว เช่น การประดิษฐ์หุ่นยนต์เกรท ที่มีลักษณะความสามารถที่คล้ายกับมนุษย์ตลอดจนสามารถสื่อสารพูดคุยกับมนุษย์ได้ เปรียบเสมือนแซมมีเพื่อนร่วมงานเป็นมนุษย์จริงๆ
                              
จุดด้อยของภาพยนตร์เรื่องนี้  
        
         การดำเนินเรื่องของภาพยนตร์เรื่องนี้มีความสลับซับซ้อน ซึ่งอาจทำให้ผู้ชมไม่เข้าใจในเนื้อหาได้เท่าที่ควร เช่น สับสนว่าฉากที่กำลังดูหรือฉากก่อนหน้านั้นเป็นแซมตัวจริงหรือแซมโคลน


           

7/11/2554

ประชาธิปไตยรากหญ้า

ประชาธิปไตยรากหญ้า


  ที่กล่าวว่าชาวรากหญ้าขายสิทธิ์นั้น
           ใครกันเป็นคนปล้นสิทธิ ที่บิกว่ารากหญ้าโง่ เลือกคนโง่ อมาตยาชนมิโง่หรือไร
ถ้าไม่มีแรงงานทาสรากหญ้า ถ้าไม่มีคนจนอุ้มหนุน พวกคุณข้าราชการ คนรวย ตามปกติเป็นคนรับใช้พวกเราชาวรากหญ้า เพราะพวกเราเลี้ยงให้คุณนั่งนอนสบายจะมีความเห็นใจชาวรากหญ้าบ้างไหม หยุดเหยียดย่ำซ้ำเติมเสียที่ ขอเพียงอย่าปล้นพวกเราชาวรากหญ้า เรารู้ เราสู้ เพื่อปกป้องสิทธิอันชอบธรรม พวกเราห่อข้าวเหนียวมาถามหาประชาธิปไตย อย่าขบขันว่าเรางี่เง่า เชอะชะ ถึงจะหยามเหยียด พวกเราไม่ว่าอะไรหรอก แม้หน้าตาจะหยาบกร้าน ใส่รองเท้าแตะ แต่พวกเราทำงานหนักหลังสู้ฟ้า หน้าสู้ดิน ทำงานในโรงงาน เสียภาษีเป็นเงินเดือนของพวกคุณ พวกเรารักความชอบธรรม เสรีภาพ พวกเราจึงมาหน้ารัฐสภา เพื่อมาถามหาสิทธิที่มอบให้แทนมา พวกเรามาปกป้องสิทธิ เสรีภาพของเราหลังขนข้าวขึ้นฉาง แล้วเรามีข้าวกิน ทำให้รากหญ้ามีบทบาททางการเมือง เปิดโอกาสให้รากหญ้าเข้าถึงทุน ได้รับผลประโยชน์จากนโยบายโดยตรงเข้ามามีบทบาททางการเมือง อันเป็นสิทธิอันชอบธรรมที่อดีตถูกเก็บดองไว้ออกมามีส่วนร่วมทางการเมืองอีกครั้ง


 เมืองไทยวันนี้
         การยึดอำนาจ 19 กันยายน 2549 โดยกลุ่มอามาตยาธิปไตย คือ กลุ่มข้าราชการเป็นหัวหน้า พวกเขาให้ชื่อกฎหมายฉบับแรกเรียกว่า “คำประกาศของคณะความมั่นคงแห่งชาติ (ค.ม.ช.)” แต่คณะอาชีพนี้ ไม่สามารถออกกฎหมายได้ แม้แต่ศาล เพราะกฎมายต้องพ่านสภาผู้แทนราษฎร เป็นตัวแทนประชาชน มีการเสนอโดยคณะรัฐมนตรี ต้องส่งให้กฤษฎีกาตีความที่ถูกต้องโดยไม่ละเมิดสิทธิของประชาชน ส่วนคณะยึดอำนาจบางคณะทหารเรียกคณะของตนว่า “คณะปฏิวัติบ้าง คณะปฏิรูปบ้าง คณะรักษาความมั่นคงแห่งรัฐ คณะความมั่นคงแห่งชาติ” ยึดอำนาจทำไม ทำไมคณะทหารที่มีหน้าที่ป้องกันความมั่นคงความปลอดภัยของประเทศเป็นข้าราชการ จะต้องปฎิบัติตามนโยบายของประชาชนที่เป็นเจ้าของประเทศ และเสียภาษีให้แกรัฐเพื่อที่จะต้องไปจ่ายเงินเดือนให้กับพวกข้าราชการและทำให้มีการอยู่ดีๆๆ เศรษฐกิจเจริญเป็นไปตามลำดับ มีการทำมาค้าขายคล่องตัว ประชาชนมีส่วนร่วมในการเลือกตัวแทนของพวกเขาทุกระดับ แล้วทำไมจึงยึดอำนาจ


ยุทธการกวาดล้าง
         เมื่อพรรคไทยรักไทยของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ใช้หลักการบริการยุคใหม่ คือ การร่วมกลุ่มของพรรคการเมือง คือ พรรคไทยรักไทย พรรคความหวังใหม่ พรรคเล็กๆ ทางภาคอีสานสองพรรค ซึ่งทำให้พรรคอีสาน ล้านนา มีความเข้มแข็ง ไม่เป็นเบี้ยหัวแตกถูกกลุ่มอามาตย์ปกครองอีก การยึดอำนาจทุกครั้งจะต้องกล่าวหาอย่างน้อย 4 ประเด็น 1.ป้องกันการปะทะกันระหว่างกลุ่มพันธมิตรที่มีอามาตยาธิปไตยเป็นเจ้าของ และกลุ่มประชาชนประชาธิปไตย และกลุ่มคนรักทักษิณหรือกลุ่มพรรคไทยรักไทย 2.คดโกงแทบทุกเรื่องทั้งในฐานะคณะรัฐมนตรี และในฐานะเจ้าของธุรกิจโทรคมนาคม รวมทั้งการซื้อขายที่ดินรัชดา 3.ดูหมิ่นสถาบันเบื้องสูง 4.แทรงแซงองค์กรอิสระ รัฐประหารไม่แทรงแซง แต่แต่งตั้งมากับมือเลือกเองตั้งเอง เกิดการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบความเสียหายแห่งรัฐ(ค.ต.ส.) ประกอบไปด้วยกลุ่มบุคคลที่อยู่ตรงข้ามกับทักษิณ มาจัดการตรวจสอบครอบครัวเขา ตรงนี้คือปมสำคัญของกระบวนการยุติธรรมในสายตาและหัวใจของนักประชาธิปไตย ไม่ต้องพูดถึงความพึงพอใจของศัตรูทางการเมือง ทุกคนอย่างสูงสุด และเป็นความเเสียใจของคนรักทักษิณ สิ่งนี้ คือ การตอกลิ่มความแตกแยกของกลุ่มรัฐประหาร อามาตยาธิปไตยที่เขาจงใจจะให้เกิดหรือคิดไม่ถึงการตามล่า ฆ่าคนๆเดียว และพรรคของพวกเขายังถูกต้อนให้เข้ามุมไม่มีสิทธิใดๆ ทางการเมือง


 บทบาทของรากหญ้า
        เมื่ออำนาจทางการเมืองอยู่ภายใต้ของกลุ่มศักดินาหรืออามาตยาธิปไตยที่ประกอบไปด้วย กลุ่มผู้นำกองทัพที่ทำการรัฐประหาร แต่การเลือกข้างเป็นสิทธิส่วนบุคคล กลุ่มทุนที่ประกอบไปด้วย ธนาคาร บริษัทใหญ่ ที่มีความเกี่ยวพันธ์ความเป็นเขยเป็นดองกัน ออกมากล่าวว่ารัฐบาลสัมคร สมชาย ไร้คุณภาพ ต้องเปลี่ยนขั้ว แล้วกลุ่มพวกนี้เขาเล่นการเมือง เพื่อผูกขาดทางเศรษฐกิจของพวกเขารากหญ้าก็รู้ เพราะฉะนั้นนักการเมืองจะต้องคิดถึงการทำหน้าที่ให้สมบูรณ์ตามหน้าที่และคิดถึงสิทธิที่รากหญ้ามอบอำนาจให้ เรามาเป็นนักการเมือง โดยเฉพาะคะแนนของชาวรากหญ้า คือ คะแนนของผู้ด้อยโอกาสมากที่สุด ถูกกล่าวหาว่าร้ายสารพัดและได้รับการบริการจากรัฐที่ห่วยที่สุดและต่ำที่สุดในสังคม รากหญ้าจึงก้าวเข้ามาสู้การรวมกลุ่มกัน เพื่อรักษาสิทธิของตนจึงบากหน้าเข้ามาเรียกร้องสิทธิอันพึงมีพึงได้ในฐานะเป็นเจ้าของประเทศ


ประกาศทวงสิทธิ
        การต่อสู้ที่ยิ่งใหญ่คือการต่อสู้เพื่อเสรีภาพของชาวรากหญ้า เอาอธรรมคืนไป เอาความเป็นไทยคืนมา ข้ารากหญ้าขมมาทวงสิทธิ ทางออกของรากหญ้าต่อใต้ฟ้าข้าแผ่นดิน การต่อสู้เพื่อสิทธิเสรีภาพเป็นการต่อสู้ที่ยิ่งใหญ่ครั้งหนึ่งของประเทศ และการต่อสู้เพื่อสิทธิเสรีภาพเพื่อความเป็นธรรมและสร้างความเท่าเทียมกันในสังคมและในการต่อสู้ เพื่อมวลชนเกิดมาเพื่อเข้าใจระบบต่อสู้ เพื่อให้ได้อำนาจรัฐและการบริหารอำนาจนั้นมีคนส่วนน้อยที่ยังไม่เข้าใจกลไกของระบบสังคมชนชั้นที่ไม่เคยไว้วางใจอำนาจของประชาชน ผลคือการแพ้พ่ายในการจัดตั้งรัฐบาลสองครั้ง และถูกยุบพรรคทั้งสองพรรค นี้คือบทเรียนทางการเมืองไม่มีสำนักไหนสอน เป็นความชำนาญในการจัดการอำนาจพรรคไทยรักไทยและพลังประชาชน เมื่อได้อำนาจจากประชาชนแต่การบริหารอำนาจและรัฐบาลมีอันเป็นไป เพราะระบบที่นักกฎหมายเขียนเป็นกับดักไว้ทุกทางคนในพรรคไม่เข้าใจ เป็นการทำลายสิทธิเสรีภาพอันยิ่งใหญ่ ชาวรากหญ้ายุคใหม่ควรเลือกคนของท่าน เพื่อเข้าสภาจึงสามารถเข้ามารักษาประชาธิปไตยและขังจะทำให้ชาวรากหญ้ามีสิทธิในการมีส่วนร่วมทางการเมืองหรือมีส่วนร่วมในอำนาจประชาธิปไตยอีกครั้ง


        จุดเด่นของหนังสือเล่มนี้   คือ  ได้รับอรรถรสจากการเขียนยุคใหม่ ที่แสดงถึงความคิดและรสนิยมของยุคสมัย ที่ให้ความละเอียดอ่อนละเมียดละไมในความรู้สึกของชาวรากหญ้าที่ต้องต่อสู้กับระบบศักดินา  ซึ่งเผชิญกับความลำบากในการใช้ชีวิตต่อสู้กับระบบศักดินา แต่ก็ต้องทำเพื่อให้ได้สิทธิของพวกเขาเอง
        จุดด้อยของหนังสือเล่มนี้  คือ เป็นการเขียนที่ให้ข้อมูลเพียงด้านเดียว คือ ในด้านการต่อสู้ของชาวรากหญ้า ว่าเป็นการต่อสู้ที่ยากลำบาก เป็นการให้ข้อมูลในด้านดีของฝ่ายเดียว และเขียนให้ร้ายกับฝ่ายระบบศักดินา ทำให้
ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ไม่ครอบคลุมของทั้งสองฝ่ายว่ามีด้านดี  ด้านเสียอย่างไร

ข้อเสนอแนะ
       ควรเขียนให้มีข้อมูลทั้งสองฝ่าย ไม่ควรเอาข้อมูลในด้านดีของฝ่ายเดียวมาเขียนเพื่อให้ร้ายอีกฝ่ายหนึ่ง

อ้างอิง : บุญทัน ดอกไธสง. ประชาธิปไตยรากหญ้า. กรุงเทพฯ : ปัญญาชน , 2552.

7/09/2554

เทคนิคการทำงานเชิงรุก

 เทคนิคการทำงานเชิงรุก  : เป็นการทำงานที่เรียกว่า “กันไว้ดีกว่าแก้


     คุณเชื่อหรือไม่ว่าพฤติกรรมที่แสดงออกของแต่ละคนนั้น เกิดขึ้นจากความคิด ความรู้สึก การรับรู้ มุมมอง หรือทัศนคติที่มีต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งมีการสะสมมาตั้งแต่อดีตจนถึงวินาทีที่แสดงพฤติกรรมนั้น ?
  " ข้าพเจ้า(นางสาวอามอญ  เสนาสี ) เชื่อว่า คนเราคิดอย่างไร รับรู้อย่างไร ก็มักจะแสดงออกอย่างนั้น แต่ก็ใช่ว่าทุกคนจะเป็นเช่นนี้ เพราะมีอีกหลายคนที่เลือกหนทางที่จะไม่แสดงพฤติกรรมตามความคิดและความรู้สึกของตนเองหรือแสดงพฤติกรรมที่ตรงกันข้ามไปเสียดีกว่า เพื่อความมั่นคง และคำนึงถึงผลเลียที่จะตามมาทั้งที่กระทบต่อตัวเองและหน้าที่การงาน เช่น หากเขารู้สึกเบื่อหน่ายกับสภาพแวดล้อมที่เป็นอยู่ ไม่ว่าจะเป็น เพื่อนร่วมงาน ลักษณะของงานที่ทำอยู่ เขาก็เลือกที่จะยิ้มรับกับปัญหาและอุปสรรคที่จะเกิดขึ้น ทำให้พวกเขาเหล่านี้กลายเป็นคนที่เก็บความรู้สึกและพฤติกรรมที่แท้จริงของตนเอง "
             ดังนั้น การที่จะเป็นคนทำงานในเชิงรุกได้นั้น ต้องเริ่มจากการปรับเปลี่ยนมุมมอง การรับรู้และความคิดของตนเองเสียก่อน ซึ่งการปรับเปลี่ยนของแต่ละคนก็ล้วนแต่แตกต่างกันออกไป มีทั้งยากบ้าง ง่ายบ้าง หรือเปลี่ยนไม่ได้เลยก็มี เนื่องจากสภาพแวดล้อมในจุดที่แต่ละคนยืนนั้นต่างกัน ถ้าเราสามารถปรับเปลี่ยนมุมมองและความคิดใหม่ จะทำให้สภาพ
แวดล้อมเต็มไปด้วยสีสันและรสชาติ  และเพื่อหาวิธีการพัฒนาขั้นตอนการทำงานให้ดีและมีประสิทธิภาพมากขึ้น และสิ่งที่จำเป็นของการทำงานเชิงรุกนั้น ยังขึ้นอยู่กับความพร้อมและความตั้งใจจริงของแต่ละคนด้วย
  
ทัศนคติหรือมุมมองของคนที่ทำงานในเชิงรุก
          ศรัทธาในตนเอง  คิดจะเป็นผู้ให้ มากกว่าผู้รับ  มองโลกในทางบวก  วันพรุ่งนี้ ย่อมดีกว่าวันนี้   โอกาสแสวงหาได้จากตัวเรา มองความผิดพลาดเป็นบทเรียน  กล้าและพร้อมเผชิญกับปัญหา  ความรู้ ความสามารถย่อมฝึกกันได้      แผนงานที่ดีมีชัยไปกว่าครึ่ง  ทุกคนย่อมมีความรู้ ความสามารถ  ผู้บริหารเวลาที่ดีที่สุด คือตัวเรา   จงรักผู้อื่นเหมือนรักตนเอง  จงเปลี่ยนศัตรูให้เป็นมิตร   อนาคตเป็นสิ่งที่เราสร้างได้ และพร้อมเสมอสำหรับการเปลี่ยนแปลง   
         เมื่อคุณสามารถปรับเปลี่ยนมุมมอง การรับรู้และความคิดของตนเองได้แล้ว ก็เข้าสู่ขั้นตอนการสำรวจตนเองว่าคุณมีจุดแข็งและจุดอ่อนอะไรบ้าง  เช่น คุณมีจุดแข็งด้านความคิดสร้างสรรค์ แต่มีจุดอ่อนด้านความละเอียดรอบคอบและการควบคุมอารมณ์ไม่ได้   และต้องคิดถึงเป้าหมายหรือวิสัยทัศน์ของตนก่อนเสมอ โดยต้องมีการวางแผนเพื่อกำหนดว่าอะไรเป็นสิ่งที่ต้องการทำทั้งในระยะสั้นและระยะยาว รวมถึงการหาหนทางหรือวิธีการเพื่อที่จะทำให้วิสัยทัศน์ของตนประสบผลสำเร็จ นั่นคือ ต้องมีการกำหนดภารกิจ(mission) และกำหนดตัวชี้วัดผลงานหลัก 
        การทำงานเชิงรุก =  เป็นการทำงานที่มีเป้าหมายสู่อนาคต  เน้นการดำเนินงานอย่างรวดเร็ว
คุ้มค่าและมีคุณภาพ เล็งเห็นถึงปัญหาพร้อมทั้งลงมือจัดการกับปัญหานั้น ๆ ใช้โอกาสที่เกิดขึ้นให้เกิดประโยชน์ต่องานด้วยวิธีที่สร้างสรรค์ และแปลกใหม่  วางแผนงานล่วงหน้า อย่างละเอียด รอบคอบ รู้จักและรับผิดชอบตนเอง
          การทำงานเชิงรับ = เป็นการกระทำเมื่อสถานการณ์บีบบังคับให้ตอบสนอง เมื่อเกิด
ข้อผิดพลาดจะโทษสิ่งแวดล้อมรอบข้าง  และเงื่อนไขข้อจำกัดต่างๆ โดยไม่พิจารณาตนเองเป็นหลัก
  และเน้นการทำงานที่ได้รับมอบหมายให้เสร็จไปวันๆ เท่านั้น ไม่มีการวางแผนการทำงานก่อนล่วงหน้า ไม่คำนึงถึงปัญหาที่จะเกิดขึ้น


สาเหตุที่ส่งผลให้คนทำงานมีทัศนคติการทำงานเชิงรับ (Reactive)
   
 เช่น -การได้รับอิทธิพลจากหัวหน้างาน ดังคำกล่าวที่ว่า หัวหน้าว่าอย่างไร ลูกน้องก็ว่าและทำตามอย่างนั้น
         
 - การดูถูกความสามารถของตนเอง ว่าตนไม่มีความรู้ ความสามารถ ทำงานที่ท้าทายไม่ได้ ยากเกินไป จนขาดความเชื่อมั่นในการทำงาน
          
 ประโยชน์ของการทำงานเชิงรุก
     -เพิ่มมูลค่างาน -เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน -สร้างบรรยากาศที่ดีให้กับเพื่อนร่วมงาน
    
-เป็นมิตรที่ดีกับทุกคน หัวหน้าชอบ องค์การก็ส่งเสริม -มีเวลาทำกิจกรรมเพื่อสังคม              
จุดเด่นของหนังสือเล่มนี้ คือ  เป็นหนังสือที่ผู้เขียนเน้นการยกตัวอย่างให้เห็นถึงทัศนคติของบุคคลวัย
ทำงานที่มีต่อองค์การ โดยการเปรียบเทียบทัศนคคติของคนที่ทำงานเชิงรุกกับคนที่ทำงานเชิงรับได้อย่างชัดเจน
 และเล่าถึงประสบการณ์ในการทำงานเชิงรุกของผู้เขียนเอง เพื่อให้ผู้อ่านได้ตระหนักถึงความสำคัญของการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ที่เป็นการสร้างโอกาสในการทำงานให้กับชีวิต ใช้ความสามารถให้เกิดประโยชน์ และเรียนรู้ที่จะพัฒนาตนเองให้เป็นคนทำงานเชิงรุก 
จุดด้อยของหนังสือเล่มนี้ คือ เนื่องจากหนังสือเรื่องนี้เป็นการเล่าประสบการณ์ของผู้เขียนเป็นส่วนใหญ่ จึงมีการกล่าวถึงเนื้อหาเดิมซ้ำหลายรอบ       
ข้อคิดที่ได้จากหนังสือเล่มนี้ คือ  ทำให้รู้ว่า คนที่จะประสบความสำเร็จในการทำงานใด ๆ ได้นั้น นอกจากจะรักในงานที่ทำแล้ว ยังมีพื้นฐานเป็นคนที่มุ่งมั่น  อดทน และมองการณ์ไกลด้วย   ซึ่งต้องคำนึงถึงเสมอว่า การทำงานทุกอย่างย่อมต้องมีปัญหาและอุปสรรคเกิดขึ้น ไม่มีใครหลีกหนีปัญหาได้ แต่จะต่างกันตรงที่ว่าใครจะสามารถรับมือและจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นได้มากน้อยกว่ากัน
ตัวอย่างทัศนคติของพนักงานที่มีต่อองค์การของตน 
         “ ไม่ต้องรีบร้อนทำงานหรอก เหลือเวลาอีกหลายชั่วโมงกว่าลูกค้าจะมารับงาน”
         
“ พวกเราเตรียมเก็บข้าวของได้แล้วนะ เหลือเวลาอีกหนึ่งชั่วโมง จะเลิกงานแล้ว งานด่วนไว้ทำวันพรุ่งนี้ก็ได้ รับรองเสร็จก่อนเที่ยงแน่นอน “
อ้างอิง : อาภรณ์ ภู่วิทยพันธุ์. เทคนิคการทำงานเชิงรุก (Proactive). กรุงเทพมหานคร : เอช อาร์ เซ็นเตอร์ , 2548.

ปูนปิดทอง



ปูนปิดทอง
 ปูนปิดทอง เป็นนวนิยายที่สะท้อนปัญหาครอบครัวในชีวิตสมรส ที่มีปัญหาการอย่าร้างตามมาหลังจากการใช้ชีวิตคู่ร่วมกัน ปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ย่อมส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของสมาชิกในครอบครัว ซึ่งครอบครัวที่มีปัญหาจากการอย่าร้าง ย่อมส่งผลกระทบโดยตรงต่อสมาชิกในครอบครัว ด้วยสาเหตุนี้จึงทำให้เด็กที่อยู่ในครอบครัวแตกแยก ขาดความรัก ความอบอุ่น และมีความรู้สึกโดดเดี่ยว ปัญหาต่างๆ จึงได้เกิดขึ้น เนื่องจากลูกเคยชินต่อสภาพแวดล้อมที่พ่อแม่ให้ความรัก ความอบอุ่น และเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ แต่ความสัมพันธ์แบบนี้กลับถูกทำลายไป ล้วนทำให้ส่งผลต่อพฤติกรรมการแสดงออกของเด็ก เช่น เด็กที่เคยยึดพ่อแม่เป็นแบบอย่าง ในด้านค่านิยม อารมณ์  ซึ่งเป็นแบบของการประพฤติ ปฏิบัติที่ช่วยให้เด็กมีบุคลิกภาพที่ดี แต่เมื่อสถาบันครอบครัวถูกทำลาย ลูกๆ บางครั้ง ก็ไม่รู้ว่าจะหันหน้าไปปรึกษาใครเมื่อเผชิญกับปัญหา ซึ่งอาจทำให้เขาน้อยใจ ผิดหวัง และท้อแท้กับเรื่องที่ทำให้สะเทือนใจ จนกลายเป็นเด็กมีปัญหาได้ เช่น การประพฤติผิดทางเพศ ปัญหาเด็กบ้านแตก ปัญหายาเสพติด และปัญหาอาชญากรรม ฯลฯ
อย่างเช่น ครอบครัวของสองเมืองและบาลี ทั้งสองคนต่างต้องเผชิญกับปัญหาครอบครัว ที่พ่อและแม่ต้องแยกทางกันอยู่ นำมาซึ่งบาดแผลแห่งความเจ็บปวดในชีวิต และได้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของพวกเขาเป็นอย่างมาก เพราะหลังจากที่พ่อแม่ของพวกเขาแยกทางกัน พวกเข้าได้พบเจอปัญหาต่างๆมากมายในชีวิตตั้งแต่เด็กจนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ บาลีและสองเมืองต่างเรียนรู้ และเผชิญกับปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างมีสติ และแก้ปัญหานั้นอย่างมีเหตุผล ซึ่งทั้งคู่ก็ได้มาใช้ชีวิตคู่ร่วมกัน พยายามเติมเต็มส่วนที่ขาดให้แก่กันและกัน เพื่อลืมความเจ็บปวดในอดีตและประคับประคองชีวิตคู่ของพวกเขา ให้เป็นครอบครัวที่สมบูรณ์แบบ ที่พร้อมจะเดินไปด้วยกัน ด้วยความรัก ความอบอุ่น และความเข้าใจที่สามารถยอมรับทั้งข้อดีและข้อเสียของกันและกัน ตลอดจนรู้จักผ่อนปรนและให้อภัยกัน ซึ่งทั้งบาลีและสองเมืองต่างเชื่อมั่นในความรักที่มีให้กัน ที่จะสามารถเผชิญกับปัญหาและอุปสรรคให้ผ่านพ้นไปได้ และพัฒนาชีวิตครอบครัวให้มีชีวิตที่ดี มีคุณภาพและมีความสุขที่สุด ด้วยตัวของพวกเขา                                                         

จุดเด่นของหนังสือเล่มนี้  

    ทำให้ได้รับแง่คิดและสะท้อนความเข้าใจในการดำเนินชีวิต ให้เห็นคุณค่าความเป็นมนุษย์ในฐานะพ่อแม่ ที่ต้องรับผิดชอบต่อครอบครัว โดยผ่านตัวละครเปรียบเทียบความงดงามและความเลวร้ายของการใช้ชีวิต ให้เกิดความรู้สึกนึกคิดร่วมกัน และเป็นส่วนช่วยกระตุ้นให้ตระหนักถึงชีวิครอบครัว
   

 จุดด้อยของหนังสือเล่มนี้ 
    ผู้อ่านต้องใช้วิจารณญานในการอ่าน คิด วิเคราะห์ตาม แล้วต้องรู้จักแยกแยะที่จะเลือกปฏิบัติตามตัวอย่างที่ดีจากตัวละครในเรื่อง เพื่อเป็นแบบอย่างในการใช้ชีวิต



อ้างอิง : กฤษณา อโศกสิน (สุกัญญา ชลศึกษ์). ปูนปิดทอง. กรุงเทพฯ : รวมสาส์น , 2525.

อมตะ



              นวนิยายเรื่อง  "อมตะ" ของ วิมล ไทนนิ่มนวล เป็นนวนิยายเชิงจินตานาการแนววิทยาศาสตร์ ที่ผู้เขียนใช้ความขัดแย้งระหว่าง ความเจริญด้านวิทยาศาสตร์ ที่ไม่สามารถเกี่ยวก้อยไปกันได้กับศีลธรรมอันดีงามมาเป็นแก่นแกน เอาความฝันชนะกฎแห่งสังขาร เป็นตัวเดินเรื่อง โดยอาศัยตัวละครแต่ละตัวที่มีความรัก ความผูกพัน และความแค้น ให้ทะยานไปสู่จุดจบอันอาจเหนือจริง โดยเริ่มจากความต้องการเป็นอมตะของตัวละครชื่อว่า "พรหมินทร์" ด้วยการโคลนนิ่งมนุษย์เทียมขึ้นมาเพื่อใช้สำหรับเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ "ชีวัน" ผู้ที่พรหมินทร์ได้เลี้ยงดูเป็นลูกมาตั้งแต่เล็ก แต่ชีวันไม่รู้ตัวมาก่อนเลยว่าตนเองไม่ใช่ลูกของพรหมินทร์ และไม่ใช่มนุษย์แท้ เมื่อเขารู้ความจริงจึงเจ็บปวดรวดร้าวใจยิ่งนัก ถึงกับหนีเตลิดออกจากบ้านไปหาคนรัก เพื่อหลบพัก และไตร่ตรองจนตัดสินใจได้จึงกลับบ้าน ระหว่างนี้เอง ตัวละครที่ชื่อ "อรชุน" ก็ถูกเปิดตัวออกมาในฐานะนักจิตบำบัดหนุ่มที่มีความสามารถสูง ขณะนั้นอรชุนกำลังติดพันอยู่กับ "รติรัตน์" ลูกสาวของพรหมินทร์ เป็นการแก้แค้น ด้วยเหตุที่ว่า แท้จริงแล้วอรชุนก็เป็นมนุษย์โคลนนิ่งที่ถูกสร้างขึ้นเช่นเดียวกับชีวัน อรชุนได้พบกับ "ศศิประภา" ซึ่งเป็นภรรยาของพรหมินทร์ และพบกับชีวันเพื่อบำบัดจิตให้กับคนทั้งสอง เมื่อทั้งสามคนมาพบกันความจริงเรื่องมนุษย์โคลนนิ่งก็ถูกเปิดเผย เมื่อพรหมินทร์สมหวังในเรื่องการผ่านกฎหมายรับรองการโคลนนิ่งมนุษย์และเปลี่ยนถ่ายอวัยวะเพื่อการค้า ทุกสิ่งทุกอย่างดำเนินไปอย่างถูกต้องและพรหมมินทร์ก็ได้เริ่มทำการเปลี่ยนถ่ายอวัยวะของตนเองจากอวัยวะของชีวัน อรชุนก็เข้ามามีบทบาทโดยเสนอตัวเองแลกเปลี่ยนกับชีวัน การเปลี่ยนอวัยวะคืนให้กับชีวันที่ทำไปพร้อมกับการเปลี่ยนถ่ายสมองของพรหมินทร์มาใส่ในร่างกายของอรชุนสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีทิ้งปมปัญหาให้คิดใคร่ครวญว่า จิตใจของพรหมินทร์ที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนถ่ายสมองแล้วนั้นเป็นของใครกันแน่ ระหว่างพรหมมินทร์กับอรชุน
              จุดเด่น ของนวนิยายเรื่องอมตะ คือ การที่ผู้เขียนสามารถนำประเด็นที่คาดการณ์ว่าจะเป็นปัญหาความขัดแย้งในอนาคต มาผูกเรื่องและสร้างตัวละครที่เป็นตัวแทนของความคิดความเชื่อ 2 แนว ได้อย่างเป็นรูปธรรม อีกทั้งนวนิยายเรื่องนี้นับได้ว่าเป็นนวนิยายที่มีข้อคิด คุณธรรมสอดแทรกไว้ในเนื้อหาทำให้ผู้อ่านได้ติดตามตลอดเวลา และที่สำคัญเนื้อหาทั้งหมดยังมีข้อความที่สรุปได้ดีที่สุดที่ว่า “ สัญชาตญาณอำมหิต วิทยาศาสตร์ และสัจวิถี ” แห่งศาสนา
             จุดด้อย ของนวนิยายเรื่องอมตะ คือ “อรชุน” ตัวละครในเรื่อง “อมตะ” ว่า แม้มีเป้าหมาย ทางอุดมคติที่ดี คือต้องการช่วยเหลือคนโคลน แต่วิธีการที่เขาเลือกใช้กลับมีแนวโน้มไปสู่ปัญหาที่รุนแรงมากขึ้น ซึ่งขัดกับหลักการทางศาสนาที่เขาพร่ำสอนอยู่ตลอดทั้งเรื่อง อีกทั้งนักเขียนมีเจตนาให้นวนิยายเรื่องนี้นำเสนอประเด็นความขัดแย้งระหว่างศาสนากับวิทยาศาสตร์ คือฝ่ายหนึ่งต้องการเป็นอมตะทางกายภาพ แต่อีกฝ่ายหนึ่งแย้งว่าความเป็นอมตะที่แท้จริงเป็นภาวะทางจิตใจ หรือที่เรียกว่า “นิพพาน” แต่ในส่วนของโครงเรื่องนั้น กลับไม่ได้แสดงความขัดแย้งที่เด่นชัดในปัญหานี้ แต่มีความเข้มข้นตรงเงื่อนปมภายในตัวตนของมนุษย์มากกว่า สำหรับประเด็นทางศาสนาและวิทยาศาสตร์ที่ว่านั้น จะปรากฏอยู่ในบทสนทนาเสียเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็เป็นการสนทนาของตัวละครที่มีด้านมืดของจิตใจครอบคลุมอยู่ เพราะฉะนั้นหลักการที่ตัวละครยกขึ้นมาอ้างจึงดูไม่น่าเชื่อถือ

อ้างอิง : วิมล ไทรนิ่มนวล. อมตะ. กรุงเทพฯ : สามัญชน , 2550